วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การบ้าน3 : 17/12/12 สื่อเทคโนโลยีกับครูภาษาอังกฤษ



สื่อเทคโนโลยีกับการเรียนการสอนของครูภาษาอังกฤษ





                                         ข้าพเจ้าและกลุ่มไปไปสำรวจ โรงเรียนศรีอยุธยาฯ ซึ่งโรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภิคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นโรงเรียนรัฐบาล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร เขต 1 ซึ่งเป็นโรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่งที่มีการเรียนการสอนโดยใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยและครอบคลุมเกือบทุกเรียนไม่ว่าจะเป็น โปรเจ็คเตอร์ โน็ตบุค และกลุ่มข้าพเจ้าได้ไปสัมภาษณ์อาจารย์ศิริพร วงศ์ภักดี ตำแหน่ง ครู คศ.2 หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 



                     คุณครูศิริพร ได้ใช้สื่อเทคโนโลยีควบคู่ไปกับการเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น โปรแกรม Microsoft Power Point, เครื่องโปรเจกเตอร์, โน๊ตบุค ซึ่งเป็นอุปกรณ์เทคโนโลยีที่สำคัญในการเรียนการสอนในปัจจุบัน เพื่อปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยที่มีเทคโนโลยีเป็นปัจจัยหลัก ซึ่งการศึกษาเองเช่นเดียวกันก็จะต้องอาศัยเทคโนโลยีเหล่านี้ เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ที่ทั่วถึงรอบห้อง และยังสามารถประยุกต์นำเอาเนื้อหาประเภทเพลงและวีดีโอมาสอนนักเรียนให้นักเรียนได้เรียนรู้และเพลิดเพลินไปด้วย ตัวอย่างสื่อที่ใช้ อาทิเช่น 









ภาพขณะคุณครูใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน

                                คุณครูศิริพร ได้มีการเรียนการสอนอีกรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจ นั่นคือ การสอนภาษาอังกฤษโดยใช้บทเพลง ในการเรียนการสอน ซึ่งคุณครูได้นำเอาเพลงของ Michael Jackson เพลงHeal the world มาเป็นตัวอย่างในการเรียนการสอน โดยเนื้อหาที่สอนจะเกี่ยวกับเรื่องคำศัพท์และโครงสร้างไวยากรณ์ที่จะมีอยู่ในเพลง โดยให้นักเรียนดูเนื้อร้องและร้องตาม นอกจากจะได้รับความเพลิดเพลินในการร้องเพลงแล้ว นักเรียนยังด้เรียนรู้คำศัพท์ และอีกทั้งยังได้ออกเสียงสำเนียงตามนักร้องซึ่งเป็น native speaker อีกด้วย ถือว่าเป็นรูปแบบการเรียนภาษาอังกฤษทีสนุกสนานรูปแบบหนึ่งเลยทีเดียว







                      กลุ่มของข้าพเจ้าเห็นว่า การใช้สื่อในการเรียนการสอนนั้นเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก เพราะเป็นส่วนช่วยให้นักเรียนสนใจบทเรียนมากยิ่งขึ้นและยังกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ อีกทั้งยังส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้จากสื่อเทคโนโลยีที่มีความแตกต่างจากบทเรียนทั่วๆไป เช่น วีดีทัศน์ เพลง ซึ่งการเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนและเนื้อหาก็มีความสำคัญเช่นกัน



ความคิดเห็นเพิ่มเติม

          สื่อเทคโนโลยีนับว่ามีความสำคัญอย่างมากและได้เข้ามามีบทบาทอย่างต่อเนื่องสำหรับวงการการศึกษาของสังคมไทย ซึ่งผู้ที่มีอาชีพเป็นครูนั้น ย่อมต้องปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งทางด้านความรู้ทางด้านวิชาการ อีกทั้งยังต้องศึกษาเรียนรู้ในการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อให้ทันกับสถานการณ์โลกในยุคโลกาภิวัฒน์ที่กำลังเจริญก้าวหน้าอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้นครูจึงต้องฝึกฝนและรู้จักใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อนำไปใช้เป็นสิ่อการสอนที่เข้ากับยุคสมัยด้วย ข้อดีของการใช้สื่อเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นโปรเจ็คเตอร์ คอมพิวเตอร์พีซี ไอแพด เอกสารPower Point PDF Word เป็นต้น ก็มีส่วนสำคัญที่ช่วยให้การศึกษาก้าวพัฒนาทัดเทียมกับนานาประเทศได้ 
           และการเรียนการสอนก็สะดวกรวดเร็วกว่าการใช้กระดานที่จะต้องคอยลบกระดานเขียนกระดาน และในสมัยนี้รัฐบาลได้มีนโยบายการใช้แท็บเล็ตแทนหนังสือของเด็กป.1 ข้าพเจ้าคิดว่าก็เป็นสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างมาก เพราะในสมัยข้าพเจ้าป.1 คอมพิวเตอร์จอหนาตึ๊บก็เป็นเทคโนโลยีที่สมัยนั้นกำลังมาแรงเช่นกัน หรือสื่อวีดีทัศน์จากอินเตอร์เน็ตที่เพิ่มความเพลิดเพลินสนุกสนานและอยากจะเรียนมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังฝึกฝนทักษะการเรียนได้เป็นอย่างดี เช่น ครูภาษาอังกฤษอาจหาคลิปวีดีโอที่เกี่ยวกับการออกเสียงของnative speaker เจ้าของภาษาโดยตรงมาเปิดในนักเรียนได้ทดลองออกเสียงได้เลยจริงๆก็เป็นการฝึกทักษะภาษาไปในตัว และเพื่อเป็นการเปิดโลกกะทัศน์ใหม่ๆให้กับนักเรียนได้ดีทีเดียว


            แต่สื่อเทคโนโลยีเหล่านี้ก็ใช่ว่าจะมีแต่ข้อดีเพียงอย่างเดียว ข้าพเจ้าคิดว่าข้อเสียก็มีอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว การใช้สื่อเทคโนโลยีในการเรียนการสอนปัจจุบัน เห็นได้อย่างชัดเจนไม่ว่าจะสอนในวิชาใดๆก็ตาม ก็จะเกิดเหตุการเช่นนี้บ่อยครั้งจนเป็นข้อเสียประเด็นใหญ่สำหรับข้าพเจ้า นั่นคือ ความขัดข้องของสื่อที่ใช้ ซึ่งอาจเกิดจากความผิดพลาดของโปรเจ็คเตอร์เอง หรือการใช้สื่อของครูผู้สอนยังไม่ชำนาญ จึงมักเกิดเหตุขัดข้องล่าช้า และทำให้เสียเวลาในการเรียนอย่างมากโดยเปล่าประโยชน์ ทั้งนี้ สื่อเทคโนโลยีก็จะต้องมีความพร้อมในการเรียนการสอนอยู่ตลอดเวลา โดยอาจแก้ไขโดยดารเตรียมมพร้อมเครื่องก่อนถึงเวลาเพื่อเผื่อเวลาเรียน และทั้งนี้ทั้งนั้น สื่อเทคโนโลยียังเป็นสื่อที่ค่อนข้างจับต้องยากกว่าสื่อทำมือที่ครูผู้สอนประดิษฐ์คิดค้นขึ้นเอง เพื่อในเด็กให้จับได้สัมผัสของจริง ทำให้เด็กจดจำรายละเอียดและเพลิดเพลินไปกับมันได้ดี ซึ่งครูเองก็จะพึ่งพาเพียงเทคโนโลยีอย่างเดียวคงจะไม่ได้ เพราะข้าพเจ้าคิดว่านักเรียนจะเกิดความเบื่อหน่ายได้ง่าย ดังนั้นสื่อทำมือและสื่อทัศนะนอกห้องเรียนยังคงจำเป็นต้องมีการจัดกิจกรรมการเรียนประเภทนี้อยู่เพื่อให้เข้ากับ "ยุคสมัยที่เด็กนักเรียนต้องเรียนรู้ศึกษาด้วยตนเอง"













               ข้าพเจ้าคิดว่าสื่อเทคโนโลยีแต่ละโรงเรียนนั้นต้องยอมรับว่ามีไม่เท่ากันและอาจแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง บางโรงเรียนที่เป็นโรงเรียนเอกชน มาตรฐานการศึกษาและการใช้เทคโนโลยีก็มักมีความทันสมัยไฮโซเป็นเรื่องธรรมดา ในส่วนโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่ในกทมและต่างจังหวัดก็พอมีสื่อเทคโนโลยีใช้ตามสภาพโดยปกติทั่วไปที่เห็นกันอยู่บ่อยครั้ง ทั้งนี้เพราะเรื่องงบประมาณยังคงเป็นปัจจัยหลักที่จะพัฒนาศักยภาพของบุคคลากรและทรัพยากรที่จำเป็นอย่างเทคโนโลยีอยู่ ดังนั้นอย่างไรก็ตามข้าพเจ้าคิดว่า

"หากครูท่านใดมีเทคโนโลยีอยู่ในมือแล้ว 
ให้คิดว่ามีทองอยู่ในมือ ที่จะช่วยให้เด็กได้เจอขุมทรัพย์ที่มีค่าต่อไป" 

ควรใช้มันอย่างคุ้มค่าและใช้มันอย่างพอประมาณที่จำเป็นไม่มากและน้อยเกินไป การศึกษาจึงจะเป็นไปอย่างมีคุณภาพ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(ขอบคุณรูปภาพจาก google.com)